โปรโตคอลคืออะไร

คอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้อย่างไร
ถ้าพูดถึงการสื่อสารของมนุษย์ จะหมายถึง ภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสาร เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีภาษาที่ช่วยในการสื่อสารเช่นด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากบริษัทต่างๆ หรือประเทศต่างๆ เข้าใจกันได้ ต้องมีการกำหนดมาตราฐาน
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องกำหนดมาตราฐานในการสื่อสารขึ้นมา นั่นก็คือ โปรโตคอล (Protocol) บทความนี้จะมาเจาะลึกและทำความรู้จักโปรโตคอลให้มากขึ้น
โปรโตคอล (Protocol) คือ มาตราฐาน หรือกฏ ระเบียบ ขั้นตอนในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกัน
โปรโตคอล (Protocol) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) อาจเป็นเพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น และยากที่จะพัฒนาโดยทีมงานใด ทีมงานหนึ่ง ดังนั้น จึงได้มีการแบ่งโปรโตคอล (Protocol) ออกเป็นชั้นๆ หรือที่เราเรียกว่า เลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์ จะทำงานไม่ซ้ำซ้อนกัน
ทิปเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลเยอร์ของระบบเครือข่าย
- การทำงานของเลเยอร์จะมีหลักการดังนี้ คือ เลเยอร์ที่อยู่ตำกว่า จะให้บริการเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่า
- เลเยอร์ที่อยู่สูงกว่า แค่รู้ว่าเลเยอร์ที่ต่ำกว่ามีบริการให้เท่านั้้น
ตัวอย่างโปรโตคอล (Protocol)
- โปรโตคอล (Protocol) TCP/IP
TCP/IP ย่อมาจากคำว่าา Transmission Control Protocol / Internet Protocol ซึ่งมีการใช้งานมานานกว่า 20 ปีเลยทีเดียว ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ ให้สามารถสื่อสารข้ามระบบกันได้ สำหรับ TCP/IP มีการแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ- Application
- Host-to-Host
- Internet Layer
- Network Access
- โปรโตคอล (Protocol) Apple Talk
สืบเนื่องจาก Apple ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ mac ที่โด่งดังและนิยมใช้งานกันทั่วโลกที่ไม่แพ้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ดังนั้น การเชื่อมต่อในระบบเครือข่ายจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และแน่นอน ย่อมจะต้องมีการเชื่อมต่อข้ามเครือข่ายกันดังนั้น Apple จึงได้พัฒนาโปรโตคอลของตัวเองในนาม Apple Talk ซึ่งเน้นการใช้งานในรูปแบบ Peer-to-Peer และเน้นให้บริการในเครือข่ายในส่วนของ การแชร์ไฟล์รวมทั้งเครื่องพิมพ์
เลเยอร์ของ Apple Talk แบ่งออกเป็น 5 ชั้น
- Application
- Session
- Transport
- Datagram Delivery
- Network Access
โปรโตคอล (Protocol) ข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น แต่เป็นโปรโตคอล (Protocol) ที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดในโลก