C-Band แตกต่างจาก KU-Band อย่างไร
จานดาวเทียม อีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร
ปัจจุบันการรับชมทีวี นอกจากเหนือจากการติดตั้งเสาอากาศที่เราคุ้นเคยกันมานับสิบๆ ปี จานดาวเทียมก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรับสัญญาณทีวีที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิงในช่วงที่ UBC รุ่งเรือง เราจะเห็นจานดาวเทียมสีแดงตามหลังคาบ้าน หลังคาคอนโดฯ ทั่วไป ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็น นอกเหนือจากเราจะได้ประโยชน์จากการติดตั้งจานดาวเทียมในเรื่องของความคมชัดของภาพแล้ว อ เรายังจะได้จำนวนช่องที่มากขึ้นอีกด้วย
เลือกจานดาวเทียมขนาดไหนดีกว่า ถ้าลองสังเกตให้ดี จะพบว่า จานดาวเทียมที่เห็นๆ ติดกันเกลื่อน จะมีหลายขนาด ขนาดเล็กแบบทึบ กับขนาดจานใหญ่ที่เป็นตาข่าย และถ้าเราต้องการจะติดตั้งบ้าน เราจะมีวิธีเลือกอย่างไร บทความนี้จะมาแนะนำย่านสัญญาณดาวเทียมที่นิยมใช้ในบ้างเรา ไม่ว่าจะเป็น C-Band และ KU-Band เรามาดูสิว่าทั้งสองย่านความถี่นี้ จะมีข้อแตกต่าง ข้อดี ข้อเสียอย่างไร
ข้อแตกต่างระหว่างย่านความถี่ C-Band และ KU-Band

รายละเอียด | C-Band | KU-Band |
ความถี่ | 3.7 – 4.2 | 10.7 – 13.25 |
ความเข้มของสัญญาณ | เบากว่า | หนักกว่า |
ครอบคลุมพื้นที่ | ทั่วโลก | ในประเทศ |
ลักษณะของจานดาวเทียม | ใหญ่ ตะแกรงโปร่งหรือทึบ (นิยมแบบตะแกรง เพราะเบากว่า) |
เล็ก จานทึบ |
ขนาดจากดาวเทียม | 4-10 ฟุต (120 – 300 เซ็นติเมตร) | 35-75 เซ็นติเมตร |
เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) | ไม่แตกต่างกัน | ไม่แตกต่างกัน |
ปัญหาฝนตก | ไม่มีปัญหา | มีปัญหาถ้าฝนตกหนัก |
หวังว่า ข้อมูลข้างต้น คงพอให้เราสามารถเลือกซื้อและติดตั้งจานดาวเทียมได้แล้วน่ะครับ ส่วนราคา C-Band ย่อมแพงกว่า เพราะมีขนาดใหญ่และติดตั้งยากกว่าเล็กน้อย ส่วนใหญ่หนึ่งจุดก็อยู่ประมาณ 2-3 พันบาท ส่วน KU-Band ก็ยังประมาณ พันกว่าบาทขึ้นไป
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการติดตั้งจานดาวเทียม นั่นคือ เราจะได้รับชมช่องสัญญาณที่ไม่ใช่แค่ฟรีทีวี แต่ยังรวมถึงสถานทีต่างๆ อีกนับร้อยสถานทีเลยทีเดียว โดยเฉพาะสถานีจาประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
คุณทราบหรือไม่ว่า ดาวเทียมที่เราใช้รับส่งสัญญาณในปัจจุบัน อยู่ห่างจากเหนือผิวโลกประมาณถึง 36,000 กิโลเมตร แต่ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เท่านั้นเองกว่าจะมาถึงโลก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้จานเพื่อรวมสัญญาณเข้าด้วยกัน