ย้อนรอยเกี่ยวกับฟิล์มถ่ายภาพ
แม้ว่ากล้องดิจิตอลจะมาแทนที่กล้องถ่ายภาพด้วยฟิล์มก็ตาม แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คนที่ยังคงหลงไหลการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม เพราะให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันยังมีกล้องอีกหลากหลายที่ยังใช้ฟิล์มเป็นส่วนสำคัญ อย่างเช่น กล้องโลโม่ เป็นต้น แล้วคุณหล่ะยังใช้กล้องที่ถ่ายด้วยฟิล์มหรือไม่ ถ้ามี คุณทราบหรือเปล่าว่า ฟิล์มทำมาจากอะไร
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟิล์มถ่ายภาพ
เจาะลึกฟิล์มถ่ายภาพ
ฟิล์มทำมาจากอะไร และทำไมถึงถึงมีภาพอยู่บนฟิล์มได้ บทความนี้จะมาแนะนำแบบเจาะลึกกันเลย เริ่มต้นด้วย ฟิล์มทำมาจากพลาสติก โพลีเอสเตอร์ เซลลูลอยด์ หรือเซลลูโลสอะซิเตด เคลือบด้วยสารเคมีที่มีส่วนผสมของเกลือเงิน ซึ่งมีคุณสมบัติไวแสง ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันตามค่าความไวแสง และเมื่อสารเคมีนี้ถูกกับแสง ก็จะทำให้เกิดภาพบนฟิล์ม์นั่นเอง แต่ยังไม่เสร็จ การจะเห็นภาพได้ จะต้องผ่านกระบวนการ ล้างฟิล์ม ก่อน จึงจะเห็นภาพได้
ฟิล์มแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง
- ฟิล์มขาวดำ
ฟิล์มที่มีการเคลือบสารเคมีชั้นเดียว - ฟิล์มสี
มีการเคลือบสารเคมีอย่างน้อย 3 ชั้น นั่นก็คือแม่สี แดง เขียว และ น้ำเงิน นั่นเอง และมีความไว้ต่อแสงต่างกัน
ฟิล์มขนาดต่างๆ
ฟิล์ม์ไม่ได้มีแค่ขนาดเดียว เพราะในความเป็นจริง วัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพก็มีหลากหลายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ผลิตฟิล์มจึงมีการพัฒนาให้รองรับกับความต้องการของแต่ละวัตถุประสงค์ เรามาดูสิว่า ฟิล์มมีขนาดเท่าไหร่บ้าง
- ฟิล์ม 35 มม.
- ฟิล์ม 110
- ฟิล์ม 120 / 220
- ฟิล์มแผ่น
- ฟิล์ม APS (Advanced Photo System)
ทิป การเลือกซื้อฟิล์ม กับความไวแสง
- ฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ จะให้ภาพที่มีความสดใส สีสรร แบบอิ่มตัว และที่สำคัญสามารถขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ โดยไม่เสียรายละเอียดของภาพแต่อย่างใด
- ฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลาง เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป
- ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่มีแสงน้อย หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตตอร์สูงๆ ตัวอย่างเช่น ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน การใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพจะลดน้อยถอยลงไปมาก แต่เชื่อว่า หลายๆ คนยังคงเก็บความทรงจำดีๆ ในการถ่ายภาพด้วยฟิล์มอยู่เหมือนเดิม เฉกเช่นเดียวกับผม