เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า EV
สถานการณ์ของรถยนต์ไฟฟ้า
ทำความรู้จักรถยนต์ไฟฟ้าที่มีกระแสมาแรงมาก ทั่วโลกให้ความสนใจกันมานานแล้ว แต่ก็มีการขยับตัวค่อนข้างช้า การจะเปลี่ยนจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน มาใช้พลังงานไฟฟ้า ดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถทำได้รวดเร็ว เหตุเพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ต้องพิจารณาอย่างมาก โดยเฉพาะกับสถานีการให้บริการ และระยะเวลาในการอัดประจุไฟฟ้าที่อาจต้องใช้เวลานับชั่วโมงต่อตรั้ง รวมทั้งมาตราฐานในการผลิตที่อาจแตกต่างกันไปของค่ายรถยนต์แต่ละค่าย
พลังงานที่ไม่ได้มีแค่น้ำมัน
ก่อนที่จะเข้าไปศึกษารายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เรามาลองดูพลังงานทางเลือกที่มีมากว่าที่หลายคนคิด ซึ่งประกอบด้วยพลังงาน 3 แบบที่น่าสนใจ
- รถยนต์พลังงานไฮบริค (Hybrid) รถยนต์ที่ใช้ทั้งน้ำมัน และไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นหลักในการขับเคลื่อน เป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมากพอสมควร
- รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen) เป็นอีกหนึ่งเทคโลยีที่น่าสนใจ เพราะทำให้เกิดมลพิษค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก แต่ด้วยราคาที่สูง ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยม
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) หมายถึงรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทำให้เกิดมลพิษแต่อย่างใด
โดยภาพรวมๆ แล้ว พลังงานที่เราได้มีการนำมาใช้จริง และเป็นที่นิยมในลำดับต้นๆ สำหรับ 3 พลังงานข้างต้นคือ รถยนต์พลังงานไฮบริค แต่เชื่อว่า ในอนาคตที่ไม่นานนัก รถยนต์พลังงานไฟฟ้า น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะมีเปอร์เซ็นต์ผู้ใช้งานสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
ต่างประเทศไปถึงไหนกันแล้ว กับการรณรงค์ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ประเทศในลำดับต้นๆ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ก็น่าจะเป็นประเทศ ญี่ปุน ซึ่งเริ่มประมาณปี คศ. 1996 ถัดมาก็น่าจะเป็นประเทศ จีน เนเธอร์แลนด์และเยอรมันนี
ประเทศไทยกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
นับได้ว่าเป็นข่าวดีพอสมควร เพราะประเทศไทยก็เริ่มมีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแล้วเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีอัตราเปอร์เซ็นต์การซื้อค่อนข้างต่ำ แต่ก็ยังดีกว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย สำหรับสถานีในการเติมเชื้อเพลิงไฟฟ้า หรือ อาจเรียกว่า “สถานีอัดประจุไฟฟ้า” ก็เริ่มสามารถพบเห็นได้แล้ว โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร
สถานีอัดประจุไฟฟ้า สามารถอัดประจุไฟฟ้า ได้ในรถยนต์ 2 ประเภท นั้นคือ
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไฮบริค
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นจะต้องตรวจสอบ “ปลั๊ก” ในการอัดประจุไฟฟ้าด้วยว่า เป็นแบบประเภทไหน ซึ่งตามมาตราฐานประเภทไทย ก็คือ ปลั๊กประเภท 2 หรือ type 2 socket นั่นเอง ส่วนอัตราความเร็วในการชาร์จไฟฟ้านั้น จะอยู่ที่ประมาณขั้นต่ำ 15-30 นาที หรือถ้าเป็นการชาร์จช้า อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงในการชาร์จกว่าจะเต็ม
สรุปได้ว่า การอัดประจุไฟฟ้า จะมีประมาณ 2 รูปแบบ คือ ชาร์จช้า และชาร์จเร็ว
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากค่ายรถยนต์
- Audi
- BMW
- BYD
- FOMM
- Hyundai
- KIA
- Land Rover
- Mercedes-Benz
- Mitsubishi
- Nissan
- Porsche
- Tesla
- Volvo
สรุปเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ดูเหมือนว่า จะมีอะไรคืบหน้ามากพอสมควร ดังจะเห็นได้จริงจากสถานีอัดประจุพลังงานไฟฟ้าที่มีการติดตั้ง ถึงแม้ว่า ณ ตอนนี้ จะเน้นในเขตกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม
นอกจากนี้ ค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็เริ่มมีการทำการตลาดมากขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนตัวก็ยังมีความหวังว่าจะได้เห็นและได้ใช้พลังงานสะอาดจากไฟฟ้าจาการขับเคลื่อนรถยนต์ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ก็คงต้องรอการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นสำตัญ เพราะถ้าจะรอภาคเอกชนอย่างเดียว ก็คงไม่สามารถไปได้รวดเร็วมากสักเท่าไหร่
อีกหนึ่งสินค้าช่วยลดมลพิษที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ผมถือว่า เป็นอีกหนึ่ง Green Product / Green Technology ได้ด้วยเช่นกัน แล้วคุณหล่ะ วางแผนที่จะซื้อรถคันต่อไปแบบไหน น้ำมันหรือไฟฟ้า