เรียนรู้เรื่องมุมมอง เพื่อการทำงานง่ายขึ้นบนพาวเวอร์พอยท์

มุมมองของ PowerPoint คืออะไร
หลักการทำงานของโปรแกรม PowerPoint จะมีลักษณะการสร้างเป็นหน้าแต่ละหน้า ซึ่งเราเรียกว่าสไลด์ ดังนั้น เืพื่อให้สามารถจัดวางและเรียงลำดับของสไลด์แต่ละสไลด์ได้อย่างถูกต้อง โปรแกรม PowerPoint จึงได้เตรียมคำสั่งเพื่อช่วยให้เราสามารถบันทึกข้อมูล แก้ไข และจัดวางหรือเรียงสไลด์ได้อย่างสะดวก เรารวมเรียกมุมมองนี้ว่า View แต่ละประเภทของมุมมองหรือ View ก็จะมีความแตกต่่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับสถานการณ์ในการทำงาน ณ ขณะนั้น เรามาดูว่า คำสั่ง View มีอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไร
มุมมอง (View) ของ Powerpoint
มุมมองเป็นคำสั่งในการแสดงผลสไลด์ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้สามรถทำการตรวจสอบและแก้ไขสไลด์ได้สะดวกมากขึ้น เราสามารถเรียกคำสั่งมุมมอง ได้จากมุมขวาล่าง (ดังภาพประกอบ) อย่างไรก็ตามโปรแกรม Microsoft PowerPoint แต่ละเวอร์ชั่น อาจมีความแตกต่างกันบ้าง อย่างเช่นในมุมมอง Reading View จะมีใน Microsoft Office 2010 ขึ้นไป
- Normal View
- Slide Sorter
- Reading View (มีใน PowerPoint 2010)
- Slide Show
Normal View มุมมองปกติ
เป็นมุมมองที่ใช้สำหรับเวลาทำการบน PowerPoint เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรกก็จะพบมุมมองประเภทนี้เป็นอันดับแรก โดยมุมมอง Normal View จะสามารถเลือกรูปแบบ Slides และแบบ Outline ได้
- Slides จะแสดงให้เห็นหน้าสไลด์เต็มที่มีขนาดเล็กหรือย่อลง
- Outline จะแสดงข้อมูลที่มีการบันทึกในแต่ละสไลด์ ซึ่งเราสามารถแก้ไขข้อความบนหน้าต่าง Outline ได้โดยตรงเลย
Slide Sorter มุมมองแบบเรียงลำดับ
เป็นมุมมองที่ช่วยทำให้เราสะดวกในการจัดเรียงสไลด์ สามารถคลิกลากและไปวางในตำแหน่งที่ต้องการได้ สามารถกำหนดขนาดต่อหน้าในโดยการย่อหรือขยายขนาดของแต่ละสไลด์ได้ตามต้องการ ถือว่าเป็นมุมมองที่สะดวกมากๆ
Reading View มุมมอง สำหรับการอ่าน
เป็นมุมมองที่เหมาะำสำหรับการ review สำหรับคนสร้าง PowerPoint เราสามารถสลับไปมาระหว่างมุมมองอื่นๆ จากมุมมอง Slide Sorter ได้โดยตรง ทำให้สะดวกในการทำงานมากขึ้น
Slide Show มุมมองสำหรับการนำเสนอหรือแสดงพรีเซ็นเทชั่นของเรา
ปกติเราสามารถสั่งให้รันสไลด์โชว์ได้โดยการกดปุ่ม F5 หรือคลิกผ่านเมนู Slide Show ได้โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงตั้งแต่สไลด์แรกเลย หรือต้องการให้แสดงสไลด์ที่กำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน
เวลาสร้างพรีเซ็นเทชั่น อย่าลืมทดสอบแต่ละมุมมองและดูความแตกต่างกันอีกครั้งน่ะครับ จะได้เข้าใจได้มากกว่านี้ ก็หวังว่าคงจะเข้าใจเรื่องมุมมองในการแสดงผลของพรีเซ็นเทชั่นกันบ้างแล้วน่ะครับ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการทำงานด้วยน่ะครับ..