DHCP คืออะไร
ทำความรู้จัก DHCP
DHCP ย่อมาจาก “Dynamic Host Configuration Protocol” เป็นมาตราฐานการสื่อสารในระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงการใช้งานตามบ้านก็มีให้เห็นผ่านทางอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต DHCP จะทำหน้าที่ในการแจก IP Address เพื่อให้คอมฯ และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเข้ากันได้อย่างไม่มีปัญหา
การแจก IP Address ก็เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง เราอาจเปรียบเทียบ IP Address กับบ้านเลขที่ของเรา เพื่อให้ไปรษณีย์ หรือบุคคลที่ต้องการติดต่อเรา สามารถเข้าถึงเราได้
ดังนั้น DHCP จึงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และควรทำความเข้าใจเพื่อประดับความรู้ไว้สักนิด และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งส่วนตัวและการทำงาน
อุปกรณ์ที่สามารถให้บริการ DHCP
- คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows Server
- Wireless Access Point
- ADSL Modem
- Router Modem
- Firewall
คนส่วนใหญ่มักเรียก DHCP แบบเต็มๆ ว่า DHCP Server เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ให้บริการแจกต่าง IP Address เหมือนเป็นเครื่องแม่อย่างหนึ่ง นั่นเอง
ประโยชน์ของ DHCP
การเชื่อมต่ออุปกรณ์และคอมพิวเตอร์เข้าในระบบเครือข่าย สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ อุปกรณ์นั้นๆ จะต้องมี IP Address เพื่อให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถติดต่อกันได้โดยไม่สับสน ดังนั้นขอสรุปย้ำอีกครั้งว่า IP Address ก็เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ ถ้าหมายเลขบ้านซ้ำกัน ก็คงมีปัญหาในเรื่องของการสื่อสารอย่างแน่นอน
นอกจากความสามารถของ DHCP ในการแจกต่าง IP Address แล้ว โดยปกติ DHCP ยังสามารถแจกจ่าย DNS / Gateway ได้อีกด้วย สำหรับรายละเอียด แนะนำให้อ่านในบทความที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ตัวอย่างหมายเลข IP Address
- 192.168.1.200
- 10.100.1.50
วิธีการแจกจ่าย IP Address ของ DHCP
การแจกจ่าย IP Address จะใช้วิธีการที่เรียกว่า บรอดคาสต์ (Broadcast) หรือถ้าจะแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหว่านแห นั่นเอง เพียงแค่เรานำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อบนเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นแบบไร้สาย และใช้สายก็ตาม อุปกรณ์นั้นๆ ก็จะสามารถได้รับ IP Address จาก DHCP ได้ทันที
ยกเว้น กรณีที่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั่นๆ มีการตั้งค่า IP ด้วยตัวเอง (Fixed IP) เราจะต้องทำการเอาออกก่อน จึงสามารถรับค่าจาก DHCP ได้
คุณทราบหรือไม่ว่า ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่รองรับการแจก IP Address เราสามารถตั้งค่าแบบกำหนดเองหรือ manual ได้เช่นกัน แต่ลองคิดดูว่า ถ้าเรามีอุปกรณ์นับร้อย คงจะต้องเสียเวลาในการตั้งค่านานมากพอสมควร แถมถ้าตั้งค่าซ้ำ จะทำให้ระบบเครือข่าย มีปัญหาในการทำงานได้