พาร์ติชันสำคัญอย่างไรกับฮาร์ดดิสก์

พาร์ติชันคืออะไร
พาร์ติชัน เป็นการแบ่งพื้นของฮาร์ดดิสก์ จากดิสก์หนึ่งลูกให้มีหลายพาร์ติชัน และผลลัพธ์ที่ได้คือ ทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเรามีหลาย drive เช่น Drive C, Drive D, Drive E เป็นต้น และเหตุผลอะไรที่ต้องมีการแบ่งพาร์ติชัน สั้นๆ ง่ายๆ ครับ เพื่อแบ่ง Drive สำหรับการจัดเก็บข้อมูล และ Drive สำหรับการติดตั้งโปรแกรมครับ
ทั้งนี้ เพื่อทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะไวรัสคอมพิวเตอร์ และสามารถสำรองข้อมูลได้สะดวก เวลามีปัญหากับคอมพิวเตอร์
พาร์ติชันมีกี่แบบ
พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ พาร์ติชันหลัก (Primary Partition) พาร์ติชันรอง (Extended Partition) และสุดท้าย พาร์ติชันส่วนย่อย (Logical Partition) ซึ่งอยู่ภายใต้พาร์ติชันรองอีกชั้นหนึ่ง
- พาร์ติชันหลัก (Primary Partition)
ฮาร์ดดิสก์ทุกลูกจะต้องมีพาร์ติชันหลักเสมอ เพราะพาร์ติชันหลักจะใช้สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถบู๊ตเข้า Windows ได้ เราสามารถสร้างพาร์ติชันหลักได้สูงสุด 4 พาร์ติชัน แต่ส่วนใหญ่เวลาใช้งานเรามักสร้างเพียง 1 เท่านั้น และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจะทำให้พาร์ติชันหลักบู๊ตได้นั้น จะต้องมีการกำหนด Active Partition เสมอ - พาร์ติชันรอง (Extended Partition)
มักสร้างพาร์ติชั่นนี้เพื่อเก็บข้อมูล สามารถเรียกใช้งานพาร์ติชันนี้ได้เสมอ แม้ไม่ได้มีการมีการติดตั้งพาร์ติชันหลัก แนะนำว่าควรสร้างพาร์ติชันรองนี้ทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยลดปัญหาไวรัสบนคอมพิวเตอร์และที่สำคัญคือ แยกแยะไฟล์ข้อมูลออกจากโปรแกรม - พาร์ติชันส่วนย่อย (Logical Partition)
อยากที่บอกไปว่า พาร์ติชันส่วนย่อย จะอยู่ภายใต้พาร์ติชันรอง และพาร์ติชันรองจะใช้งานได้ต้องมีพาร์ติชันส่วนย่อยเช่นกัน การสร้างพาร์ติชันส่วนย่อยสามารถสร้างให้มีขนาดเล็กว่า พาร์ติชันรองได้
ปัจจุบัน เราสามารถแบ่งพาร์ติชันเป็นส่วนๆ ได้ แม้ว่าเราติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมอื่นๆ ไปแล้วก็ตาม
5:33 am
…thx you